กำจัดกากอุตสาหกรรมอย่างไร ไม่ให้กระทบสิ่งแวดล้อม มีคำตอบ

20/11/2023

กำจัดกากอุตสาหกรรมอย่างไร ไม่ให้กระทบสิ่งแวดล้อม มีคำตอบ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อความเจริญเข้ามาแทนที่ สิ่งของที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานย่อมมีบางส่วนที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งที่ผลิตขึ้นผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศเกี่ยวกับการกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมขึ้น แต่คำถามคือจะต้องกำจัดอย่างไรเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนตัดสินใจจ้างบริษัทรับกำจัดกากอุตสาหกรรมจึงอยากพาทุกคนมาศึกษาขั้นตอนที่เหมาะสมกันเลย

วิธีกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมไม่ให้กระทบสิ่งแวดล้อม

วิธีกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมไม่ให้กระทบสิ่งแวดล้อม

1. แยกชนิดกากอุตสาหกรรมเพื่อแบ่งขั้นตอนให้ถูกต้อง

ปกติแล้วกากของเสียอุตสาหกรรมจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ นั่นคือ กากที่ไม่เป็นอันตราย เช่น เศษพืชผักผลไม้ เนื้อสัตว์ และกากที่เป็นอันตรายอย่างกลุ่มสารเคมี น้ำมัน กากน้ำมันต่าง ๆ วิธีแรกที่โรงงานรับกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมจะทำคือต้องแยกชนิดของกากดังกล่าวออกมาให้ชัดเจน เพื่อจะได้แบ่งส่วนตามขั้นตอนกำจัดอย่างเหมาะสม ไม่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม

2. ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดเอาไว้อย่างเคร่งครัด

อย่างที่อธิบายไปว่ากระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการออกประกาศในเรื่องการกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแนวทางให้กับโรงงานอุตสาหกรรมหรือผู้รับกำจัดกากอุตสาหกรรมปฏิบัติภายใต้กรอบที่เหมาะสม นั่นจึงเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายโรงงานที่จะต้องปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง รวมถึงต้องใช้จิตสำนึกที่ดีเพื่อการมีส่วนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม

3. มีการทำรายงานเพื่อระบุข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบถ้วน

การทำรายงานเพื่อยื่นเอกสารไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกรณีเกิดข้อผิดพลาด เช่น รายการกากอุตสาหกรรมไม่ตรงกับรายละเอียดที่แจ้งเอาไว้ หรือเป็นกากที่ต้องผ่านการขออนุญาตอื่น ๆ จะได้ดำเนินการได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่ออันตรายหรือผลกระทบในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้น

4. ศึกษาข้อมูลกากอุตสาหกรรมแต่ละชนิดให้ละเอียด

ข้อนี้เป็นอีกหัวใจสำคัญของการรับกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมโดยเฉพาะหากเจอกับกากที่มีส่วนผสมบางอย่างแปลกไปจากเดิม หรือเป็นส่วนประกอบที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นสารเคมี ต้องทำการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดพร้อมหาวิธีอันเหมาะสมเพื่อให้กากดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกจนอาจสร้างอันตรายให้กับหลายภาคส่วน

การกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมไม่ใช่แค่การทำลายของเสียเหล่านั้นให้หมดไป แต่ต้องรู้วิธีปรับเปลี่ยน แก้ไข หรือทำลายอย่างถูกต้อง เหมาะสม ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้กับธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นพื้นดิน ผืนน้ำ ท้องทะเล อากาศ รวมถึงมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ การเลือกจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการรับกำจัดกากอุตสาหกรรม สมุทรปราการ จึงเป็นอีกแนวทางที่ช่วยให้โรงงานของคุณดำเนินการได้อย่างปลอดภัย ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับสารเคมีหรืออันตรายอื่นใดที่อาจส่งผลต่อผู้อื่นด้วย อย่ามองข้ามเรื่องเหล่านี้เป็นอันขาด

กฎหมายสิ่งแวดล้อม

เกิดขึ้นเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นหลักเนื้อหาครอบคลุมการป้องกันและเยียวยาความเสื่อมโทรมแห่งสุขภาพทั้งของมนุษย์และอมนุษย์และมักคาบเกี่ยวกับกฎหมายจารีตประเพณี สนธิสัญญา ข้อตกลง พันธกรณี กฎระเบียบและนโยบาย ฯลฯ หลากชนิด

แนวคิดของกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่สำคัญนั้นเป็นกฎหมายที่มีลักษณะของการควบคุมและป้องกันให้ผู้คนในสังคมต้องปฏิบัติโดยมีหลักการสำคัญที่เรียกว่า “ใครก่อมลพิษ คนนั้นจ่าย” ซึ่งถือว่าผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการกำจัดมลพิษที่ตนเองได้ก่อให้เกิดขึ้นแนวคิดนี้จะแทรกอยู่ในกฎหมายสิ่งแวดล้อมแต่ละฉบับ ในที่นี้จึงขอนำเสนอภาพรวมและความมุ่งหมายของกฎหมายสิ่งแวดล้อมเฉพาะที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจ

พรบ. และ กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ควรรู้ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ

1. พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

กฎหมายหลักฉบับแรกที่เกี่ยวข้อง คือพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เข้ามาควบคุมการประกอบธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเช่น การกำหนดมาตรการควบคุมมลพิษด้วยการที่ภาคธุรกิจต้องจัดให้มีระบบบำบัดอากาศเสีย ระบบบำบัดน้ำเสียระบบกำจัดของเสีย และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ

2. พรบ. โรงงาน

สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มีโรงงานเป็นของตัวเองแล้ว ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ได้จำแนกประเภทของโรงงาน และกำหนดสิ่งที่โรงงานแต่ละประเภทต้องปฏิบัติ เช่น ที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ลักษณะของอาคารและลักษณะภายในโรงงาน

3. พรบ. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่จัดหาพื้นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรม แล้วจัดให้เช่า เช่าซื้อ หรือขาย และให้บริการแก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม และผู้ประกอบกิจการที่เป็นประโยชน์หรือต่อเนื่องกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม

4. พรบ. สาธารณสุข

กฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 กฎหมายฉบับนี้มีความมุ่งหมายสำคัญในการเข้ามาคุ้มครองประชาชนด้านสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กิจการบางประเภทของผู้ประกอบธุรกิจจึงอาจถูกควบคุมในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้

5. พรบ. วัตถุอันตราย

สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มีการนำเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายมาใช้ในกิจการ จะต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ซึ่งครอบคลุมวัตถุอันตรายต่าง ๆ เช่น วัตถุระเบิดได้ วัตถุไวไฟ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุที่มีกัมมันตรังสี วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง

6. พรบ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

พ.ศ. 2511 บัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อความปลอดภัย หรือเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดแก่ประชาชนหรือแก่กิจการอุตสาหกรรม หรือเศรษฐกิจของประเทศ กฎหมายมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้งเกี่ยวกับ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม องค์ประกอบคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

7. กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะของไทย

กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไทยมี 2 ลักษณะ คือ กฎหมายการรักษาความสะอาด ห้ามทิ้งขยะมูลฝอยในที่ห้ามและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 อีกลักษณะหนึ่ง คือ กฎหมายที่กำหนดหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในการกำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งจะให้อำนาจกับท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หรือองค์การบริหารส่วนตำบล ในการเก็บ ขน กำจัดขยะมูลฝอยในเขตที่ตนมีอำนาจหน้าที่ ได้แก่ พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เป็นต้น ส่วนขยะอันตรายจะมีกฎหมายเฉพาะ เช่น ขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมใช้กฎหมายโรงงาน กฎหมายการนิคมอุตสาหกรรม หรือกฎหมายวัตถุอันตราย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สภาพบังคับใช้กฎหมายในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

1. สภาพบังคับทางปกครอง
- ปรับ
- ระบบอนุญาต

2. สภาพบังคับทั่วไปเชิงป้องกัน
- การทํา EIA

3. สภาพบังคับทั่วไปเชิงควบคุม
- กําหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษ

สภาพบังคับใช้กฎหมายในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

4. สภาพบังคับเฉพาะเรื่อง เช่น ห้ามใช้ยานพาหนะที่ก่อให้เกิดมลพิษ (รถที่ มีควันดํา)

5. สภาพบังคับใช้ในกรณีฉุกเฉิน ให้อํานาจนายกรัฐมนตรีสั่งการตามที่ เห็นสมควร

6. สภาพบังคับทางอาญา
- บทลงโทษจําคุก ปรับ ริบทรัพย์ ประหารชีวิต

7. สภาพบังคับทางเพ่ง
- การชดใช้ค่าเสียหาย

แหล่งอ้างอิง
https://www.allaroundplastics.com/article/business-tips/1882/
https://reo13.mnre.go.th/th/news/detail/48832
https://bio.flas.kps.ku.ac.th/courses/482/Envi_Law.pdf

สนใจบริการ ทำความสะอาดโรงงาน, บริษัท รับกําจัดสารเคมีอันตราย ล้างบ่อดักไขมัน ติดต่อได้ที่
Facebook : Wastecontrol2021
Line : @711shead
Phone : 020774271, 0949784229

ความรู้ที่น่าสนใจอื่นๆ

Waste Control บริษัทกำจัดกากอุตสาหกรรม กำจัดขยะอันตราย - สมุทรปราการ

บริษัท เวสท์ คอนโทรล จำกัด

ที่อยู่ 123/63 หมู่ที่ 19 ถนนสุขสวัสดิ์ 64 ซอย 1 ต.บางพึ่ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130
เวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ 8.30 - 17.00

© Waste Control Public Company Limited.​ All right reserved
เวสท์ คอนโทรล บริษัทกำจัดกากอุตสาหกรรม กำจัดขยะอันตราย - สมุทรปราการ
สอบถามเพิ่มเติม